27 พฤษภาคม 2556

5 วิธีเคลียร์ตารางงานให้อยู่หมัด

ปกติเป็นประจำทุกวันตอนผมไปทำงาน ผมจะตื่นแต่เช้าไปเอาหนังสือพิมพ์ฟรีของ M2F (ของฟรี แถมฝึกให้เราเป็นคนตื่นเช้าด้วย 2in1 ชัดๆ) ผมชอบอ่าน working hours ของหนังสือพิมพ์นี้มากๆ ผมสะสมตัดเก็บไว้เฉพาะหน้านี้เอาไว้เลย
หากวันไหนไปสาย จุดที่รับทุกวันหมดก่อน ผมจะเดินวนไปรับจากจุดอื่นเพื่อให้ได้หนังสือผมให้ได้ สู้คร๊าบบบบ

working hours เป็นหัวข้อที่เขียนถึงคนรวยระดับโลก
หากเราต้องการเป็นแบบไหนให้ศึกษาจากบุคคลนั้น

5 วิธีเคลียร์ตารางงานให้อยู่หมัด ของเม็ก วิตแมน เจ้าแม่ไอที(จากหนังสือพิมพ์ M2F)

  1. ทำในสิ่งที่ตัวเองถนัด เม็ก เผยว่า จากประสบการณ์ทำงานทั้งในบริษัทเก่าและบริษัทใหม่ ทำให้เธอมองเห็นภาพว่าคนเรามีความถนัดที่แตกต่างกัน โดยอันดับแรกคือเราต้องพยายามมองภาพให้ออกว่าตัวเองเก่งทางด้านไหนเป็นพิเศษ และมีสิ่งไหนต้องปรับปรุงอีกบ้าง อีกทั้งการร่วมงานกับคนที่ถนัดในด้านที่แตกต่างออกไปก็จะเป็นเรื่องที่ดีมาก เพราะเขาสามารถให้คำแนะนำได้ และผลของงานก็จะออกมาลงตัวมากที่สุด
  2. จดรายการสิ่งที่ต้องทำ ก่อนจะจรดปากกาลงปฏิทินให้เรียงลำดับก่อนว่ายังมีสิ่งไหนที่ตกค้างอีกบ้าง ลองทบทวนว่ามีเรื่องสำคัญอะไรที่ยังไม่ได้ทำ และอย่าปล่อยให้เรื่องสำคัญในอดีตมันผ่านไป เพราะเรื่องใหม่กำลังจะมาถึงในอนาคตอันใกล้นี้แล้ว การเขียนรายการจะช่วยกำหนดตารางชีวิตได้ว่าต้องทำอะไรบ้าง ซึ่งหากทำเป็นนิสัยจะเป็นผลดีและย่นเวลาในการบริหารงานได้เยอะมาก
  3. อย่าจมปลักกับปัญหา เมื่อปัญหาเรื่องงานมาประดับหน้า และบางเรื่องก็ไม่ถนัดหรือว่าไม่มีความรู้ในส่วนนี้เลยอย่าปล่อยให้ปัญหามันค้างเติ่ง และคิดว่าตนเองเท่านั้จะเป็นผู้แก้ไข เพราะแทนที่จะเสียเวลาจมอยู่กับปัญหานานถึง 5 ชม. แต่ก็ควรปรับเปลี่ยนเป็นการให้ทุกคนในทีมระดมสมอง พร้อมกับหยิบยื่นงานให้กับคนที่มีความถนัดทำงานเสียดีกว่า
  4. จัดการประชุมให้อยู่หมัด ตารางงานปกติของคนในบริษัทก็คือ 9 โมงเช้าถึง 6 เย็นเท่านั้น เวลานี้เป็นเวลางานซึ่งทุกคนพร้อมทำงานและอยู่ในบริษัท เม็ก แนะว่าควรจัดการประชุมให้เสร็จสรรพทันเวลา อย่าให้เกิดการประชุมนอกเรื่องไปจากตัวงานเสียเปล่าๆ
  5. ชั่งใจว่าสิ่งใดถูกและผิด ในการบริหารงานมักเกิดคำถามบ่อยมากว่า อะไรคือสิ่งที่เราต้องการวัดค่าความสำคัญมากที่สุด เช่น ความไว้วางใจของลูกค้าที่มีต่อบริษัท การเปิดตัวสินค้าที่ตรงเวลา หรือเรื่องค่าใช้จ่ายทางด้านส่วนของซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์โดยการเรียงลำดับและวัดความสำคัญของเรื่องจะทำให้ผู้บริหารมองแผนที่บอกทิศทางบริษัทว่าต้องเดินไปทางไหน

ไม่มีความคิดเห็น: